วิชาเครื่องมือกลเบื้องต้น
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถบอกส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์ได้
2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการใช้จานพา
1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถบอกส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์ได้
2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการใช้จานพา
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึกและปฏิบัติจับชิ้นงานบนเครื่องกลึงด้วยจานพาและห่วงพาได้อย่างถูกต้อง
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถ กลึงปอก และเซาะร่อง
ได้ตามขนาดที่กำหนด
ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์
มีส่วนประกอบอะไรบ้างสามารถแยกเป็น 5 ส่วน
สำคัญคือ
1. ฐานเครื่องกลึง
(Bed)
2. หัวเครื่องกลึง (Head
Stock)
3. ชุดแท่นเลื่อน (Carriage)
4. ยันศูนย์ท้าย (Tail
Stock)
5. ระบบป้อน (Feed Mechanism)
ชนิดของเครื่องกลึง
1. เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe) เป็นเครื่องกลึงความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่าน ศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลากหลาย นิยมใช้ในโรงงานทั่วไป
2. เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่นจับมีดกลึงปากหน้า มีด กลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว เป็นต้น
3. เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่
1. เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe) เป็นเครื่องกลึงความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่าน ศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลากหลาย นิยมใช้ในโรงงานทั่วไป
2. เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่นจับมีดกลึงปากหน้า มีด กลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว เป็นต้น
3. เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่
4. เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในการปาดหน้าชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่
ส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึงยันศูนย์
1. หัวเครื่องกลึง (Head Stock) ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่องใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
ชุดส่งกำลัง (Transmission) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าผ่าน สายพานลิ่ม (V-Belt) และชุดเฟือง (Gear)ที่สามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่างๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน(Spindle)ให้หมุน
ส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึงยันศูนย์
1. หัวเครื่องกลึง (Head Stock) ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่องใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
ชุดส่งกำลัง (Transmission) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าผ่าน สายพานลิ่ม (V-Belt) และชุดเฟือง (Gear)ที่สามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่างๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน(Spindle)ให้หมุน
ชุดเฟืองทด (Gears) ใช้ทดความเร็วรอบในการกลึงมี 2 ชุด คือ
ชุดที่อยู่ภายในหัวเครื่องและชุดที่อยู่ภายนอกหัวเครื่องกลึง
2. ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling Pump) จะอยู่ที่ฐานรองของเครื่องกลึง ซึ่งจะประกอบด้วยปั๊ม (Pump) ที่จุ่มอยู่ในถังของน้ำหล่อเย็น และสายยางน้ำหล่อเย็นที่โผล่ขึ้นมา และจับยึดอยู่บนชุดแท่นเลื่อน ซึ่งจะพ่นน้ำหล่อเย็นตรงกับงานตลอดเวลา
2. ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling Pump) จะอยู่ที่ฐานรองของเครื่องกลึง ซึ่งจะประกอบด้วยปั๊ม (Pump) ที่จุ่มอยู่ในถังของน้ำหล่อเย็น และสายยางน้ำหล่อเย็นที่โผล่ขึ้นมา และจับยึดอยู่บนชุดแท่นเลื่อน ซึ่งจะพ่นน้ำหล่อเย็นตรงกับงานตลอดเวลา
อุปกรณ์ของเครื่องกลึง และหน้าที่การใช้งาน
1. หัวจับเครื่องกลึง (Chuck) หัวจับเครื่องกลึงมี 2 ชนิด คือ
1. หัวจับเครื่องกลึง (Chuck) หัวจับเครื่องกลึงมี 2 ชนิด คือ
1.1 หัวจับชนิด 3 จับ ฟันพร้อม (A Three-Jaw Universal Geared Scroll Chuck)
1.2 หัวจับชนิด 4 จับฟันอิสระ (A Four-Jaw Independent Chuck)
รูปที่ 1.2
หัวจับทั้ง 2 ชนิดทำหน้าที่ในการจับชิ้นงานกลึง ซึ่งหัวจับชนิด 3
จับฟันพร้อมสามารถจับชิ้นงานได้รวดเร็ว เช่น จับชิ้นงานกลม ชิ้นงาน 6
เหลี่ยม และชิ้นงาน 3 เหลี่ยมด้านเท่าเป็นต้น
ส่วนหัวจับชนิด 4 จับฟันอิสระสามารถจับชิ้นงานได้ ทุกรูปแบบ
2. กันสะท้านของเครื่องกลึง (The Steady Rest) เป็นอุปกรณ์ของเครื่องกลึงที่ทำหน้าที่ช่วยประคองชิ้นงานยาว ๆ ขณะทำการกลึงไม่ให้เกิดการหนีศูนย์
3. จานพาเครื่องกลึง ((Lathe Faceplates)
2. กันสะท้านของเครื่องกลึง (The Steady Rest) เป็นอุปกรณ์ของเครื่องกลึงที่ทำหน้าที่ช่วยประคองชิ้นงานยาว ๆ ขณะทำการกลึงไม่ให้เกิดการหนีศูนย์
3. จานพาเครื่องกลึง ((Lathe Faceplates)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จับชิ้นงานกลึง
ทำหน้าที่เป็นตัวจับห่วงพาเพื่อพาชิ้นงานหมุน บางครั้งยังสามารถใช้จับชิ้นงาน แบนๆ
ได้อีกด้วย หน้าจานเป็นลักษณะของหัวจับงานอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับในการจับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ๆ
ที่ไม่สามารถจับยึดด้วยหัวจับแบบสามจับ หรือสี่จับได้ ในการใช้งานหน้าจานจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยอย่างอื่น
ๆ อีกด้วย
เช่น T – slot
4. ห่วงพาเครื่องกลึง
(Lathe Dogs)
ใช้จับชิ้นงานโดยวิธียันศูนย์ใช้คู่กับจานพา
และศูนย์ของเครื่องจะใช้สำหรับพาชิ้นงานในลักษณะที่ไม่สามารถจับยึดด้วยหัวจับได้
ลักษณะการจับยึดจะต้องใช้ควบคู่กับหน้าจานหรือจานพาโดยจะมีศูนย์ตายถูกยึดเป็นตัวบังคับศูนย์ชิ้นงาน
5. ศูนย์เครื่องกลึง
(Lathe Centers)
ทำหน้าที่ประคองชิ้นงานกลึงที่มีความยาว ศูนย์ของเครื่องกลึงมี 2ชนิด คศูนย์ตาย (A Revolving Deal Center) และศูนย์เป็น
(A Heavy Duty Ball Center)
ประโยชน์ของการใช้จานพาเครื่องกลึงและห่วงพา สำหรับการกลึงงานที่มีขนาดความยาวมากๆ เพื่อชิ้นจะได้ศูนย์กันทั้งสองข้าง และเป็นการทำงานที่สะดวก
ประโยชน์ของการใช้จานพาเครื่องกลึงและห่วงพา สำหรับการกลึงงานที่มีขนาดความยาวมากๆ เพื่อชิ้นจะได้ศูนย์กันทั้งสองข้าง และเป็นการทำงานที่สะดวก
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เครื่องกลึง
2. จานพา
3. ห่วงพา
4. ยันศูนย์
5. เวอร์เนียร์คาลิเปอร์
ขั้นตอนการทำงาน
1. ตรวจสอบเครื่องกลึงให้เรียบร้อย
2. เจาะรูจุดศูนย์กลางของชิ้นทั้งสองข้าง
3. ถ้ามีหัวจับติดตั้งบนเครื่องกลึงให้ถอดหัวจับออก
4. นำจานพาและยันศูนย์ติดตั้งที่หัวเครื่อง
5. นำยันศูนย์ท้ายติดตั้งที่
แท่นท้ายเครื่อง
6. ติดตั้งห่วงพาที่ตัวชิ้นงาน
แล้ววางงานระหว่างยันศูนย์ทั้งสองโดยให้ห่วงพา อยู่จานพา
7. จากนั้นหมุนแท่นท้ายเครื่องให้ยันศูนย์ท้ายยันชิ้นงาน
หมุนให้แน่นพอประมาณ
อ้างอิง
แบบฝึกหัดท้ายบท
1. จงบอกหน้าที่ของ จานพา
เครื่องกลึงมีหน้าที่ใช้สำหรับทำอะไร
…………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………….
2. ห่วงพา
เครื่องกลึงมีหน้าที่ทำอาไร
……………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………
คำตอบแบบฝึกหัดท้ายบท
1. จงบอกหน้าที่ของ จานพา
เครื่องกลึงมีหน้าที่ใช้สำหรับทำอะไร
ตอบ ใช้จับชิ้นงานกลึงทำหน้าที่เป็นตัวจับห่วงพาเพื่อพาชิ้นงานหมุน บางครั้งยังสามารถใช้จับ ชิ้นงานแบนๆ ได้อีกด้วย หน้าจานเป็นลักษณะของหัวจับงานอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับในการจับชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ๆ
2. ห่วงพา เครื่องกลึงมีหน้าที่ทำอาไร
ตอบ ใช้สำหรับพาชิ้นงานในลักษณะที่ไม่สามารถจับยึดด้วยหัวจับได้
ลักษณะการจับยึดจะต้องใช้ควบคู่กับหน้าจานหรือจานพาโดยจะมีศูนย์ตายถูกยึดเป็นตัวบังคับ
หนังสือเครื่องมือกลเบื้งต้น